ภาษี Forex ในประเทศไทย 2025: ขั้นตอนและอัตราเรียกเก็บ

Updated:

What Changed?

Each month we update average spreads data published by the brokers the retail brokers lose %

Fact Checked

เทรด forex เสียภาษีไหม? ภาษี Forex คือ หนึ่งในภาษีเงินที่มีการจัดเก็บในไทย ในคู่มือนี้จะอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับกฏหมายภาษีที่เกี่ยวข้อง!

การเก็บภาษี Forex ในประเทศไทย: ผู้ค้ารายย่อย

ภาษี Forex ยังไม่ได้ถูกบัญญัติในข้อกำหนดการเรียกเก็บภาษี ไม่มีข้อกฎหมายเฉพาะสำหรับการเก็บภาษีจากการลงทุนที่เกิดจากการเทรด forex โดยตรง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า คุณไม่จำเป็นต้องเสียภาษี forex

โดยทั่วไปแล้ว รายได้จากการเทรด forex ถือเป็น “เงินได้ประเภทที่ 8” และอยู่ภายใต้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในกฎหมาย คุณมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายได้ต่อกรมสรรพากรและชำระภาษี Forex ตามอัตราภาษีที่กำหนด

ในบางประเทศมีการกำหนดว่าเงินได้ที่มาจากการลงทุนใน forex จะต้องนำมาคำนวณ “ภาษีกำไรจากการลงทุน (Capital Gains Tax)” โดยเฉพาะ

สำหรับการลงทุนในไทย เงินได้สุทธิที่เกิดจากกำไรของ forex จะมีวิธีการคำนวณและการจัดเก็บที่แตกต่างกันกับการลงทุนในต่างประเทศ เงินได้จากการเทรด Forex ถูกจัดอยู่ในหมวดของ “เงินได้พึงประเมิน” ตามปกติ และต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40

โดยอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (PIT) ของปีภาษี 2025 มีโครงสร้างดังนี้:

เงินรายได้ที่เข้าเกณฑ์เสียภาษี (บาท)อัตราภาษี (%)
ไม่เกิน 150,0000% (ยกเว้น)
150,001 – 300,0005%
300,001 – 500,00010%
500,001 – 750,00015%
750,001 – 1,000,00020%
1,000,001 – 2,000,00025%
2,000,001 – 5,000,00030%
มากกว่า 5,000,00035%

ตัวอย่างการคำนวณภาษีรายได้และภาษี Forex

สมมติว่าคุณมีรายได้ที่ต้องเสียภาษี 600,000 บาท อัตราภาษีที่ใช้คำนวณคือ:

ช่วงรายได้ (บาท)อัตราภาษีภาษีที่ต้องจ่าย (บาท)
ไม่เกิน 150,000ยกเว้น0
150,001 - 300,0005%(150,000 × 5%) = 7,500
300,001 - 500,00010%(200,000 × 10%) = 20,000
500,001 - 600,00015%(100,000 × 15%) = 15,000

ดังนั้น รวมภาษี forex ที่ต้องจ่ายทั้งหมดคือ 42,500 บาท

การเสียภาษี Forex ในนามธุรกิจที่จดทะเบียนซื้อขาย Forex

หากคุณทำการเทรด forex ในนามของธุรกิจที่จดทะเบียน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ บริษัทจำกัด (Co., Ltd.) หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด (Partnership) เงินได้จากการเทรด forex ต้องเสียภาษี แต่จะต้องนำไปคำนวณเป็นรายได้ของธุรกิจ ไม่ใช่รายได้ส่วนตัวของเจ้าของธุรกิจ

ดังนั้น การจัดตั้งธุรกิจที่จดทะเบียนสำหรับการเทรดฟอเร็กซ์สามารถให้ข้อได้เปรียบบางอย่างทางภาษี เช่น สามารถหักค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น ซึ่งอาจช่วยลดฐานรายได้ที่ต้องเสียภาษีได้ และเสียอัตราภาษีที่อาจต่ำกว่า

เทรด forex เสียภาษีไหม: ความแตกต่างระหว่างบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล

  • หากมีรายได้จากการซื้อขาย forexในนามบุคคลธรรมดา คุณจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามอัตราภาษีแบบขั้นบันได (5% – 35%)
  • หากซื้อขาย forex ในนามของบริษัทหรือธุรกิจจดทะเบียน รายได้จากการเทรดจะถูกจัดเป็น รายได้ของธุรกิจ และการคำนวณภาษีจะอยู่ที่อัตรา 20% ของกำไรสุทธิ

อย่างไรก็ตาม ในการเทรด forex ผ่านโครงสร้างบริษัทที่จดทะเบียนเช่นนี้ คุณต้องพิจารณาถึงข้อกำหนดทางกฎหมาย ค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ และการจัดทำบัญชีที่ซับซ้อนมากขึ้น ผมจึงขอแนะนำให้คุณปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีหรือที่ปรึกษาทางการเงินก่อนตัดสินใจ เพื่อให้มั่นใจว่าการจดทะเบียนธุรกิจเพื่อการเทรดเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกับสถานการณ์ของคุณ

เงินได้ประเภทใดที่เข้าข่ายการเรียกเก็บภาษี

ในประเทศไทย รายได้ที่ต้องเสียภาษีจะบัญญัติในกฎหมายมาตรา 40 ของประมวลรัษฎากร ซึ่งแบ่งออกเป็น 8 ประเภทหลัก ได้แก่:

  1. เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส – เป็นเงินได้จากการรับจ้างทำงาน เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง ค่าคอมมิชชัน หรือโบนัส
  2. ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า หรือค่าบริการอื่นๆ – เป็นเงินได้จากการให้บริการ เช่น ที่ปรึกษา วิทยากร หรือฟรีแลนซ์
  3. ค่าลิขสิทธิ์ ค่าสิทธิบัตร หรือผลประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญา
  4. เงินปันผล ดอกเบี้ย และกำไรจากหุ้น – เป็นเงินได้จากการลงทุนในหุ้น พันธบัตร ฟอเร็กซ์ หรือเงินปันผลจากกองทุน
  5. รายได้จากการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์และทรัพย์สินอื่น ๆ
  6. กำไรจากการขายทรัพย์สิน (Capital Gains) – เป็นเงินที่ได้จากการขายทรัพย์สิน เช่น กำไรจากการขายที่ดิน หุ้น หรืออสังหาริมทรัพย์
  7. รายได้จากวิชาชีพอิสระ – เช่น แพทย์ ทนายความ วิศวกร หรือสถาปนิก
  8. รายได้จากกิจการพาณิชย์ การเกษตร หรืออุตสาหกรรม

ในกรณีของ การเทรดฟอเร็กซ์ รายได้จะถือเป็น เงินได้ประเภทที่ 4 (ดอกเบี้ยและกำไรจากการลงทุน) หรือ ประเภทที่ 8 (รายได้จากการทำธุรกิจ) ซึ่งต้องเสียภาษีตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร

ผู้ที่เข้าเกณฑ์จะต้องยื่นแบบภาษี

ผู้เสียภาษีในประเทศไทยถูกจัดประเภทเป็น ผู้มีถิ่นที่อยู่ (Tax Resident) และ ผู้ไม่มีถิ่นที่อยู่ (Non-Resident) ตาม มาตรา 41 ของประมวลรัษฎากร ซึ่งมีข้อกำหนดเกี่ยวกับภาระภาษีแตกต่างกัน

ผู้ที่อาศัยอยู่ในไทย (Tax Resident)

ในที่นี้ หมายถึง บุคคลที่ อาศัยอยู่ในประเทศไทยเกิน 180 วัน ภายในปีปฏิทิน มีหน้าที่ต้องแสดงรายได้และจำเป็นต้อวเสียภาษี ดังนี้:

  1. ต้องเสียภาษีจากรายได้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นภายในประเทศไทย
  2. ต้องเสียภาษีจากรายได้ในแหล่งเงินต่างประเทศ เฉพาะ ส่วนที่นำเข้ามาในประเทศไทย ภายในปีภาษีนั้นๆ

ผู้ที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในไทย (Non-Resident)

ในที่นี้ หมายถึง บุคคลที่ อาศัยอยู่ในประเทศไทยไม่ถึง 180 วัน ภายในปีปฏิทิน มีหน้าที่ต้องแสดงรายได้และจำเป็นต้อวเสียภาษี ดังนี้:

  1. ต้องเสียภาษี เฉพาะรายได้ที่มาจากแหล่งเงินภายในประเทศไทยเท่านั้น
  2. รายได้จากต่างประเทศ ไม่ต้องเสียภาษีไทย แม้ว่าจะนำเงินเข้ามาในประเทศก็ตาม

หากคุณเป็นเทรดเดอร์ที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย และมีรายได้จากการเทรด forex กับโบรกเกอร์ชั้นนำในต่างประเทศ คุณจะต้องเสียภาษีเฉพาะ ส่วนของกำไรที่ถูกนำกลับเข้ามาในประเทศไทย ภายในปีภาษีนั้น แต่หากคุณเป็นผู้ไม่มีถิ่นที่อยู่ในไทย รายได้จากการลงทุนฟอเร็กซ์ที่เกิดขึ้นนอกประเทศไทยจะไม่ถูกนำมาคำนวณภาษี forex

วิธีการยื่นแบบแสดงรายการภาษี ในเงินได้ประเภทที่กำหนด

การยื่นภาษีในประเทศไทยเป็นกระบวนการที่ไม่ซับซ้อน คุณสามารถทำได้ด้วยตัวเองผ่านทาง เว็บไซต์ของกรมสรรพากร (ซึ่งมีให้บริการเฉพาะภาษาไทย)

1. ยื่นแบบออนไลน์

      • เข้าสู่ระบบเว็บไซต์
      • เลือกแบบฟอร์มที่ถูกต้อง
      • กรอกข้อมูลและส่งแบบฟอร์ม
      • รออีเมลยืนยัน

2. ยื่นแบบภาษีด้วยตนเอง

      • ขอรับแบบฟอร์มที่สำนักงานสรรพากร
      • กรอกข้อมูลและแนบเอกสารที่เกี่ยวข้อง
      • ส่งแบบฟอร์มที่สำนักงาน

อย่างไรก็ตาม คุณต้องนำส่งแบบแสดงภาษีและชำระเงินให้เรียบร้อยภายในกำหนดเวลา เพื่อหลีกเลี่ยงค่าปรับหรือปัญหาทางกฎหมาย

เอกสารที่จำเป็นสำหรับการยื่นภาษีและภาษี forex

เพื่อให้การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นไปอย่างราบรื่นและหลีกเลี่ยงค่าปรับที่ไม่จำเป็น คุณควรเตรียมเอกสารสำคัญดังต่อไปนี้:

เอกสารยื่นภาษีไทย

กำหนดเวลายื่นภาษีและบทลงโทษกรณีไม่ปฏิบัติตาม

การปฏิบัติตามข้อกำหนดทางภาษีไม่เพียงช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงค่าปรับและปัญหาทางกฎหมาย แต่ยังช่วยให้การบริหารการเงินของคุณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

กำหนดเวลา:

  • การยื่นแบบกระดาษ: ภายในวันที่ 31 มีนาคม ของทุกปี
  • การยื่นแบบออนไลน์: ขยายเวลาได้ถึงวันที่ 8 เมษายน

ในกรณีที่ไม่สามารถยื่นแบบแสดงรายการเงินได้ที่กำหนด นี่คือบทลงโทษทางกฎหมาย:

  • เสียค่าปรับสำหรับการยื่นล่าช้า: สูงสุด 2,000 บาทต่อเดือน
  • ดอกเบี้ยภาษีที่ค้างชำระ: คิดอัตรา 1.5% ต่อเดือน
  • บทลงโทษกรณีแจ้งรายได้ต่ำกว่าความเป็นจริง: อาจต้องชำระภาษีเพิ่มเติมพร้อมค่าปรับเท่ากับจำนวนภาษีที่ค้างชำระ
  • ความผิดร้ายแรง เช่น การหลีกเลี่ยงภาษีโดยเจตนา
      • อาจถูกตั้งข้อหาทางอาญา โทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี
      • อาจถูกปรับระหว่าง 2,000 – 200,000 บาท

กลยุทธ์การลดย่อนภาษี forex

เนื่องจากภาษีเป็นค่าใช้จ่ายที่ส่งผลต่อกำไรในการเทรด forwzของคุณโดยตรง หากคุณเป็นเทรดเดอร์มือใหม่ การหาวิธีลดย่อนภาษีจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจ และคุณสามารถดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้ได้โดยไม่ขัดต่อกฎหมายของรายได้จากการลงทุน

การหักกลบขาดทุนจากกำไรในการเทรด Forex

หากคุณมีกำไรจากการเทรด Forex และเคยขาดทุนจากการเทรด forex ในล็อตเทรดใดมาก่อน คุณอาจต้องการนำขาดทุนมาหักกลบเพื่อลดภาระอย่างไรก็ตาม ตามกฎหมายภาษีของไทย คุณไม่สามารถนำผลการประกอบการที่ขาดทุนจากการเทรด Forex ไปหักลบกับรายได้จากแหล่งอื่น เช่น เงินเดือน หรือรายได้จากธุรกิจอื่น ๆ

สิ่งที่ควรทำ:

  • แยกประเภทแหล่งที่มาของรายได้ให้ชัดเจน
  • ทำความเข้าใจในสิทธิ์การหักลดหย่อนที่ใช้กับการเทรด forex ได้
  • เก็บบันทึกการซื้อขายและรายได้จาก Forex อย่างเป็นระบบ เพื่อลดความเสี่ยงด้านภาษี forex ในอนาคต

การใช้ค่าลดหย่อนภาษี forex

ในประเทศไทย คุณสามารถหักค่าใช้จ่ายบางอย่างออกจากรายได้ที่ต้องเสียภาษีได้ ตราบใดที่ค่าใช้จ่ายเหล่านั้นเกี่ยวข้องโดยตรงกับการสร้างรายได้ สำหรับเทรดเดอร์ ค่าใช้จ่ายที่อาจนำมาหักลดหย่อนได้ ได้แก่:

  • ค่าใช้จ่ายสำหรับซอฟต์แวร์หรือแพลตฟอร์มที่ใช้เทรด
  • ค่าอินเทอร์เน็ตบางส่วน หากใช้เพื่อการเทรดโดยเฉพาะ

อย่างไรก็ตาม หากคุณไม่มีใบเสร็จหรือเอกสารที่ชัดเจน ค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะไม่สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ ดังนั้น ควรจัดเก็บหลักฐานค่าใช้จ่ายให้ดี และตรวจสอบให้แน่ใจว่าการหักลดหย่อนของคุณถูกหลักทางกฎหมาย

กรรมสรรพากร – หน่วยงานหลักในการจัดเก็บภาษี

หน่วยงานของรัฐบาลไทยแห่งนี้ที่มีหน้าที่หลักในการจัดเก็บภาษีธรรมดา และภาษี forexเพื่อเป็นรายได้ของประเทศ อยู่ภายใต้กระทรวงการคลัง หน่วยงานนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารและกำกับดูแลระบบ พื่อให้เกิดความเป็นธรรมและประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้จากประชาชนและภาคธุรกิจ

ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะเทรดทอง หรือเทรด forex หากเกิดรายได้ หน่วยงานนี้ก็จะเข้ามามีบทบาทในรายได้ของคุณทันที

หน่วยงานรัฐแห่งนี้มีหน้ารับผิดชอบด้านการจัดเก็บภาษีหลายประเภท ได้แก่:

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax – PIT): เรียกเก็บจากรายได้ของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย รวมถึงรายได้จากต่างประเทศที่นำเข้ามาในประเทศ
  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax – CIT): จัดเก็บจากกำไรของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทย
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax – VAT): อัตราปัจจุบันอยู่ที่ 7% และเรียกเก็บจากการขายสินค้าและบริการ
  • ภาษีธุรกิจเฉพาะ (Specific Business Tax – SBT): ใช้กับธุรกิจบางประเภท เช่น สถาบันการเงินและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

กรมสรรพากรไทย ภาษี forex

เทรด forex ต้องเสียภาษีตามกฎหมายไทยหรือไม่

ถึงแม้ว่าการเทรด forex จะยังถูกกฎหมายแบบ 100% แต่เงินได้ที่เกิดจากการลงทุนประเภทนี้จัดเป็นเงินได้ประเภทที่ต้องเสียภาษี ซึ่งจัดเก็บโดยกรมสรรพากรนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม การซื้อขายที่เกิดขึ้นต้องดำเนินการผ่านโบรกเกอร์ที่ได้รับใบอนุญาตและอยู่ภายใต้การกำกับดูแล ไม่ว่าจะเป็นโบรกเกอร์นั้นจะดำเนินการแบบ CFD หรือโบรกเกอร์ Copy trade เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดทางการเงินของประเทศ

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SEC) ของประเทศไทย เป็นหน่วยงานหลักที่ดูแลตลาดฟอเร็กซ์และ CFD โดยมีบทบาทในการรักษาความ โปร่งใส ความเป็นธรรม และการคุ้มครองนักลงทุน ภายในระบบการเงิน

ในขณะที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย (BoT) ทำหน้าที่เป็นธนาคารกลางและ ควบคุมกิจกรรมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับค่าเงินบาท รวมถึงการกำหนดนโยบายการเงิน ควบคุมเสถียรภาพของสกุลเงิน และออกกฎเกณฑ์เกี่ยวกับธุรกรรมฟอเร็กซ์ เพื่อให้มั่นใจว่าการซื้อขายเป็นไปอย่างยุติธรรมและถูกต้องตามกฎหมาย

ข้อจำกัดในการซื้อขายค่าเงินบาท

ธนาคารแห่งประเทศไทย (BoT) ได้ออกมาตรการเพื่อ ป้องกันการเก็งกำไรค่าเงินบาท และรักษาเสถียรภาพของสกุลเงิน ภายหลังวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชียปี 1997 ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจไทยและมูลค่าของเงินบาท

BoT ควบคุมธุรกรรมแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศระหว่างสถาบันการเงินในประเทศและผู้ที่ไม่มีถิ่นพำนัก (non-residents) โดยเทรดเดอร์ในไทยสามารถซื้อขายสกุลเงินหลัก เช่น ดอลลาร์สหรัฐ (USD), ยูโร (EUR) และเยนญี่ปุ่น (JPY) ได้ตามปกติ แต่การเก็งกำไรโดยตรงในอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทยังถือเป็นข้อห้าม

หน่วยงานการเงินเกี่ยวกับการเทรด forex

บทสรุป: เทรด Forex เสียภาษีไหม 2025

การเทรด forex ในประเทศไทยอยู่ภายใต้กฎหมายภาษี รายได้ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเกิดจากการเคลื่อนไหวกี่ pip ก็ตาม หากเข้าเกณฑ์เสียภาษี คุณจะต้องเสียภาษี Forex ในอัตราเงินได้บุคคลธรรมดา (PIT) ตามอัตราภาษีก้าวหน้า 0% – 35% ขึ้นอยู่กับระดับรายได้ของคุณ ยกเว้น กรณีที่คุณดำเนินการซื้อขายผ่านนิติบุคคล รายได้จากฟอเร็กซ์จะถูกจัดอยู่ในหมวด ภาษีเงินได้นิติบุคคล (CIT) ซึ่งโดยทั่วไปจะเสียภาษีที่อัตรา 20%

เพื่อปฏิบัติตามข้อกำหนดทางภาษีและหลีกเลี่ยงบทลงโทษ คุณจัดเก็บเอกสารทางการเงินให้ครบถ้วน เช่น รายงานการซื้อขาย รายการเดินบัญชี และหลักฐานค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในกำหนด ไม่ว่าจะเป็นการยื่นแบบกระดาษที่ต้องส่งภายใน 31 มีนาคม และการยื่นออนไลน์ภายใน 8 เมษายน ของทุกปีก็เป็นข้อกำหนดที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

แม้ว่าจะไม่มีข้อกำหนดภาษี Forex โดยเฉพาะสำหรับการเทรด forex ในไทย แต่เทรดเดอร์ที่มีรายได้จากการลงทุน ต้องรายงานและเสียภาษีตามกฎหมาย

ดังนั้น การวางแผนภาษีอย่างถูกต้อง เช่น การใช้ ค่าใช้จ่ายหักลดหย่อน หรือ การจดทะเบียนธุรกิจเพื่อเสียภาษีในอัตราที่เหมาะสม อาจช่วยลดภาระภาษีได้ รวมทั้ง การศึกษาและติดตามกฎหมายภาษีล่าสุด เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะปฏิบัติตามกฎหมายและหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

คำเตือน เกี่ยวกับภาษี Forex

บทความนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับภาษี Forex ในไทย ไม่ถือเป็นคำแนะนำทางกฎหมายหรือภาษี ข้อบังคับทางภาษีอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ และการตีความกฎหมายอาจแตกต่างกันไปตามสถานการณ์ของแต่ละบุคคล

หากคุณต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับภาระภาษีของคุณ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีหรือที่ปรึกษาทางการเงิน เพื่อให้แน่ใจว่าคุณปฏิบัติตามกฎหมายภาษีอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับสถานการณ์ของคุณ

ภาษี Forex – คำถามที่พบบ่อย

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) มีผลกับการเทรดฟอเร็กซ์ในประเทศไทยหรือไม่?

การเทรดฟอเร็กซ์ในประเทศไทยได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ซึ่งโดยปกติแล้ว VAT จะถูกเรียกเก็บในอัตรา 7% สำหรับการขายสินค้าและบริการ ภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม ธุรกรรมฟอเร็กซ์ไม่เข้าข่ายเป็นสินค้าหรือบริการที่ต้องเสีย VAT ตามกฎหมายภาษีของประเทศไทย

ดังนั้น คุณไม่ต้องกังวลเรื่องการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในการซื้อขายสกุลเงิน แต่ยังคงต้องปฏิบัติตามกฎหมายภาษีเงินได้ตามประเภทของผู้เสียภาษี

ถ้าฉันเทรดผ่านโบรกเกอร์ต่างประเทศ ฉันต้องเสียภาษี Forex หรือไม่?

ใช่ รายได้จากการเทรดผ่านโบรกเกอร์ต่างประเทศยังคงถือเป็นเงินได้พึงประเมิน และต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามกฎหมายไทย แม้ว่ากำไรจะไม่ได้ถูกโอนกลับมายังประเทศไทยในทันที แต่หากมีการนำเข้ามาใช้จ่ายในประเทศ ก็จะต้องรายงานและเสียภาษีตามอัตราที่กำหนด

กำไรจากการเทรดฟอเร็กซ์สามารถหักลดหย่อนภาษี Forex ได้หรือไม่?

โดยทั่วไปแล้ว กำไรจากการซื้อขายฟอเร็กซ์ถือเป็นเงินได้พึงประเมินและไม่สามารถหักลดหย่อนได้ อย่างไรก็ตาม หากคุณมีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขาย เช่น ค่าธรรมเนียมแพลตฟอร์ม หรือค่าธรรมเนียมทางการเงิน อาจสามารถนำมาหักลดหย่อนบางส่วนได้ ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของกรมสรรพากร

เทรด forex เสียภาษีไหม?

หากคุณมีรายได้จากการซื้อขายฟอเร็กซ์ คุณต้องรวมรายได้นี้ไว้ในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด. 90 หรือ ภ.ง.ด. 91) และยื่นต่อกรมสรรพากรภายในกำหนดเวลาทุกปี โดยคุณสามารถยื่นแบบออนไลน์ผ่านเว็บไซต์หลัก หรือยื่นแบบกระดาษที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง

ฉันควรเก็บเอกสารภาษีไว้นานแค่ไหน?

แนะนำให้เก็บเอกสารภาษี รวมถึงบันทึกธุรกรรมทางการเงิน สลิปเงินเดือน และหลักฐานการหักภาษี อย่างน้อย 5 ปี เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของการตรวจสอบบัญชี (Audit)

Back to top